สำหรับเด็ก ๆ แล้ว “หนังสือที่ดี คือหนังสือที่อ่านง่าย” เล่าเรื่องตรงไป ตรงมา ไม่ซับซ้อน หรือต้องเดาเหตุการณ์อะไรมากมาย โดยวิธีการเลือกหนังสือที่อ่านง่าย อย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่ลองเปิดหนังสือมาสัก 1 – 2 หน้า แล้วใช้สายตาสแกนดูว่า ในหน้านั้นมีคำศัพท์ที่ลูกรู้มากน้อยแค่ไหน หากมีคำศัพท์ที่ลูกไม่รู้เกิน 30 % แนะนำว่าให้เก็บหนังสือเล่มนั้นไว้ก่อนค่ะ เพราะความไม่เข้าใจในสิ่งที่หนังสือต้องการสื่อสาร อาจทำให้ลูกรู้สึกกดดันในการอ่านได้นะคะ
หนังสือที่มีรูปภาพประกอบสามารถดึงดูดความสนใจของเด็ก ๆ ได้มากกว่า 50 % เมื่อเขาสนใจรูปภาพแล้วจะต่อยอดไปที่เนื้อหา สร้างความอยากอ่านหนังสือมากขึ้น แต่การเลือกหนังสือที่มีรูปภาพประกอบก็มีวิธีเช่นกันค่ะ คือควรเลือกภาพที่สื่อความหมายของเรื่องอย่างชัดเจน เพื่อเติมเต็มจินตนาการของเด็กให้สมบูรณ์ขึ้น และควรเป็นภาพที่ใช้สีอ่อน สีละมุนไม่ฉูดฉาดเกินไป เพราะสีโทนอ่อนจะช่วยเสริมสร้างอารมณ์ และจิตใจของเด็กให้นุ่มนวลได้ค่ะ นอกจากนั้นลายเส้นก็สำคัญนะคะ ใบหน้าของคนควรแสดงอารมณ์ที่นุ่มนวล อ่อนโยน หากเป็นสัตว์รูปร่างต้องมีขนาดพอดี ไม่ใหญ่จนน่ากลัวเกินไป จะได้ไม่เป็นการสร้างภาพจำด้านลบให้กับเด็ก ๆ ค่ะ ที่สำคัญข้อดีของการให้ลูกอ่านหนังสือที่มีรูปภาพประกอบจะช่วยกระตุ้นจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ ได้ดี จนทำให้เขาสนใจและอยากอ่านหนังสือมากขึ้น
แน่นอนว่า “ความสุข” เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนอยากจะพบเจอ คงจะดีไม่ใช่น้อยถ้าเด็ก ๆ ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ความสุขในหนังสือที่เขาได้อ่าน ในการฝึกให้เด็กอ่านหนังสือในช่วงแรก ๆ ควรเริ่มให้เขาอ่านด้วยหนังสือที่ทำให้พวกเด็กรู้สึกมีแรงบันดาลใจ สดชื่นแจ่มใส หัวใจเบิกบาน ควรเป็นหนังสือที่ให้พลังในทางบวก การที่เด็กได้อ่านนิทานที่จบด้วยความสุข จะทำให้เด็ก ๆ ร่าเริง อมยิ้มได้ทั้งวัน ถือเป็นการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี
ระยะเวลา 10 นาที เป็นช่วงเวลาเด็ก ๆ จะตื่นเต้นและสนใจใคร่รู้สิ่งใหม่ เขาจะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งพอสมควร หากเลยสิบนาทีไปแล้วอาจะทำให้เขาหันไปสนใจอย่างอื่น พ่อแม่ต้องเลือกหนังสือที่เนื้อเรื่องสั้น ๆ ที่สามารถอ่านจบได้ภายใน 10 นาที มาให้ลูกอ่านในช่วงแรก ๆ และการเลือกหนังสือนั้นแม้จะมีเนื้อหาที่รวบรัดจบไว แต่ก็ต้องมีบทสรุปที่สมบูรณ์ เมื่อเด็กอ่านหนังสือจนจบ เขาจะรู้สึกว่าได้ทำบางอย่างสำเร็จจนถึงเป้าหมาย “รู้สึกฟิน รู้สึกมีความสุข” ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือเล่มต่อไปของเขาได้ค่ะ จนกลายเป็นคนที่รักในการอ่านหนังสือในที่สุด
อีกหนึ่งกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวสามารถทำเมื่ออยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันได้ นั่นก็คือการอ่านหนังสือ อาจใช้เวลาว่างช่วงบ่ายของวันอาทิตย์มาอ่านหนังสือเรื่องเดียวกัน จากนั้นก็มาพูดคุย แบ่งปันความรู้สึก เล่าเรื่องความประทับใจในหนังสือ วิธีนี้นอกจากจะเป็นการใช้ช่วงเวลาคุณภาพของครอบครัวร่วมกันแล้ว ยังปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับลูกได้อย่างดีเลยค่ะ
ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม การทำอย่างมุ่งมั่นสม่ำเสมอ สักวันหนึ่งจะประสบความสำเร็จ “การอ่านหนังสือก็เช่นกัน” การฝึกให้ลูกอ่านหนังสือทุกวัน จะเป็นการปลูกฝังการอ่านให้กับลูกอัตโนมัติค่ะ สามารถเริ่มจากการทำข้อตกลงในการอ่านหนังสืออย่างน้อยวันละ 10 นาทีกับลูก แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาเมื่อเขาโตขึ้น การทำอย่างนี้สม่ำเสมอจะสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูก
กฎข้อนี้ใช้ได้ผลเกือบจะทุกเรื่องนะคะไม่ใช่แค่เฉพาะกับเด็กและการอ่านหนังสือ อย่างผู้ใหญ่แบบเรา ๆ เวลาจะดูภาพยนตร์สักเรื่อง นอกจากการอ่านรีวิวแล้ว หลายคนเลือกดูหนังเพียงเพราะภาพโปสเตอร์ที่สวย ดึงดูด เพราะฉะนั้นหนังสือที่มีปกสวยงามสามารถดึงดูความสนใจให้เด็ก ๆ ให้อยากเปิดอ่านได้เช่นกันค่ะ เขาจะรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็น จนรู้สึกอยากอ่านหนังสือเล่มนั้นด้วยค่ะ
ให้พ่อ แม่ และลูก นำหนังสือของตัวเองมารวมกัน แล้วหาสักมุมหนึ่งในบ้านสำหรับจัดวางหนังสือ พร้อมทำป้ายชื่อห้องสมุดของบ้าน (อาจจะใช้ชื่อเล่นของลูกเป็นชื่อห้องสมุดก็น่ารักดีนะคะ) รับรองว่าลูกจะมีแรงบันดาลใจในการหนังสือขึ้นมาเลยค่ะ
เมื่อคุณฝึกให้ลูกอ่านหนังสือไปสักพัก พ่อแม่ลองชวนเพื่อน ๆ ของลูกมาปาร์ตี้เล็ก ๆ ที่บ้าน โดยมีตรีมงานเกี่ยวกับหนังสือ ภายในงานอาจมีการจับของขวัญ ซึ่งของขวัญที่นำมาจับฉลากจะต้องเป็นหนังสือเท่านั้น สร้างบรรยากาศให้สนุกด้วยการเล่นเกมส์เกี่ยวกับหนังสือ เช่น บอกความรู้สึกเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านแล้ว หรือเล่นทายปัญหาเกี่ยวกับหนังสือ เป็นต้น เพื่อให้เด็ก ๆ เกิดความประทับใจ ทำให้เรื่องการอ่านหนังสือกลายเป็นเรื่องที่สนุกไปเลยค่ะ
การสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูกทำได้ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะ ลองนำไปเล่นกับคุณลูกนะคะ รับรองว่าเจ้าหนูจะกลายเป็นหนอนหนังสือในอนาคตแน่นอนค่ะ
#อนุบาล #อนุบาลเด่นหล้าเพชรเกษม #ดีที่สุดในย่านเพชรเกษม #ความรู้คู่คุณธรรม #อดล #DENLA #DBS#WELOVEDENLA
#โควิด19
14
มิ.ย.
2565
2
ต.ค.
2565